Monday, April 6, 2015

7 : น่าเสียดาย

เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วที่ได้เล่าเรื่อง飛行機ไป แต่จริงๆแล้วมีสำนวนหนึ่งติดอยู่ที่ไม่รู้ว่าจะพูดว่าอะไร นั่นก็คือ “เสียดายเงิน” เพราะไม่แน่ใจตอนเล่าเป็นภาษาญี่ปุ่นเลยไม่ได้พูดไป (แต่ตอนอัดเสียงก็พูดไปว่า とてもเสียดายเงินだよ!www) วันนี้จึงมาทำการบ้านที่ค้างไว้จากสัปดาห์ที่แล้ว

พอลองหาดูแล้ว คำว่า”เสียดาย” ในภาษาญี่ปุ่นมีอยู่หลักๆสามคำด้วยกัน คือ もったいない 惜しい 残念 ซึ่งทั้งสามคำก็แปลว่าเสียดายหรือน่าเสียดายเหมือนกัน ทว่าแต่ละคำมีบริบทหลักในการใช้ที่แตกต่างกันอยู่ วันนี้จึงขอมานำเสนอความ”น่าเสียดาย”ในแง่มุมที่ต่างกันค่ะ

1.もったいない

ความหมาย แท้จริงแล้วควรจะเป็นอย่างนั้น แต่กลับไม่เป็นไปตามนั้น จึงเกิดความเสียดาย
ใช้กับเวลา เงิน อาหาร สิ่งของ ความสามารถ เรื่องราวต่างๆ เป็นต้น
このパンはまだ食べられるから、捨てるのはもったいない
時間もったいないから始めよう。
彼女の才能が発揮されないでいるのはもったいない
こんなにいい天気の日に家にいるなんてもったいないよ。
もったいないから全部食べなさい。

**และที่อยากจะพูดเมื่ออาทิตย์ที่แล้วก็คือ
チケットを買ったのに、朝寝坊しちゃって飛行機に乗り遅れたって、すごくお金もったいないなー!
เงินปลิวหายต่อหน้าต่อตา...


2.惜しい

ความหมาย เกือบได้ทำเรื่องนั้นได้อยู่แล้ว แต่มาพลาดตอนสุดท้าย หรือมาพลาดไปนิดเดียว จึงน่าเสียดาย
ใช้กับ คะแนน(ข้อสอบ เกม กีฬา ฯลฯ)รางวัล โอกาส เป็นต้น
あと5点合格だったのに、惜しいー!
แมนยูเสียประตูไปในวินาทีสุดท้าย)あ!惜しかった!!
 一点差で試合に負けたのは惜しい
惜しいことに彼女は受賞を逃がした
惜しいことに彼は好機を逸した

3.残念

ความหมาย อยาก/หวังให้เป็นแบบนั้น แต่กลับไม่เป็นแบบนั้น
เช่น เวลาที่ไม่สามารถไปตามคำเชิญได้ ไม่ได้พบคนที่อยากพบ เสียอะไรที่ชอบไป เป็นต้น
君がパーティーに来られないのは本当に残念だ。
彼はあなたに会えくて残念がっていましたよ。

昨今の若者があまり本を読まないのは大変残念なことだ。
この本をなくしたのは残念だ。

และยังใช้เพื่อแสดงความเสียใจได้เช่นกัน
(เมื่อรู้ว่าอีกฝ่ายสอบเข้าไม่ได้) 残念でしたね。(ผู้พูดควรใช้น้ำเสียงสุภาพและทำหน้าเห็นอกเห็นใจอย่างจริงใจ)
試合に負けて残念だったね。


ใช้เพื่อปฏิเสธอย่างสุภาพก็ได้
まことに残念ですがご招待には応じかねます
残念ながらお力になれません。

       * หลังจากรู้ความหมายทั้งสามคำแล้ว ฉะนั้นถ้าจะพูดว่าเสียดายเงิน ก็ต้องพูดว่า お金もったいない!นั่นเองงง >_<

รู้สึกเหมือนได้ทบทวนความจำที่เคยเรียนไปนานอีกครั้ง แล้วก็ต้องเตือนตัวเองว่าใช้ให้ถูกบริบทล่ะ ไม่งั้นยุ่งแน่ๆ (แต่ดูแล้วคิดว่าคงไม่มีใครใช้ผิดใช้นะ )

จบไปแล้วกับคำว่าน่าเสียดาย จริงๆถ้าเป็นไปได้อยากให้ทุกคนใช้ชีวิตแบบที่ไม่ต้องพูดคำว่าเสียดายนะ ว่าแต่ถ้าต้องเลือกแล้ว สิ่งที่น่าเสียดายที่สุดของทุกคนคืออะไรกัน?

私にとって超残念なことは、一日には24時間しかないことなんだ。


Wednesday, April 1, 2015

[TASK 3] New me

飛行機





ねー(友達の名前)、話したいことがあるんだ!(うん、何?)あのう、先週はね(うん)、実は私、え、フランスに行こうと思ってて(へー!)チケットを買ったんだ。(本当!?)うーん、で、旅行の予定は先週の火曜日だったよね。(うん)でも本当はね、(うん)フライトの時間は10時なんだけど、(うん)私、朝寝坊しちゃって、なんか、9時半くらい空港に(着いたの!?)そうー!(えっ、間に合うの!?)間に合わなかったよーー。それですごく残念だった。チケット買ったのに。。もっと早く来れば、もう飛行機に乗っているはずだったでしょ。(それは残念だなあ)うん、だけどね、家に帰って、夜のニュースを見たら、その飛行機は海に墜落しちゃったそうだ!(へーーー!)でしょ!私もすごくびっくりした!乗ったいたらもう死んちゃってたでしょう。(うんんー)うーん、すごく運が良かったなあ私。(それは良かったねーー)

I’ve changed you know!?

สิ่งที่เปลี่ยนไป

สำหรับfillers ที่มีการใช้ทั้งหมดได้แก่ あのうหนึ่งครั้ง、えหนึ่งครั้ง、うんสามครั้ง、なんかหนึ่งครั้ง รู้สึกว่ามีการพยายามควบคุมตนเองมากขึ้น ไม่ให้ใช้なんかหรือあのうพร่ำเพื่อ สังเกตว่าจะใช้あのうตอนเกริ่นเรื่อง เพราะเป็นตอนที่กำลังคิดว่าจะเล่าแบบไหนดี พอเริ่มเล่าแล้วก็จินตนาการภาพไปเรื่อยๆได้ บวกกับあいづちของเพื่อนช่วยทำให้ต่อเรื่องง่ายขึ้น เลยไม่ค่อยต้องนึกอะไรมากเลยไม่ต้องใช้あのうเยอะ
          พยายามแบ่ง文節มากขึ้น สังเกตว่าตัวเองค่อยๆเล่าเรื่อง แบบ วันนั้นนะ ความจริงแล้วนะ คือมีการแบ่งประโยคมากขึ้นแทนที่จะพูดไปเลยว่าวันนั้นความจริงแล้ว แล้วพอแบ่งประโยคเพื่อนก็มีあいづちกลับมาเป็นอย่างดี และสังเกตอีกอย่างว่าคราวนี้จะเล่าเป็นประโยคสั้นๆต่อกัน ไม่ใช้ประโยคอธิบายยาวๆเหมือนคราวที่แล้ว เพราะคิดว่าน่าจะทำให้ผู้ฟังฟังง่ายขึ้นและมีส่วนร่วมได้
        ส่วนปัญหาเรื่องそしてปกติแล้วจะไม่ค่อยใช้そしてเลย ติดเชื่อมประโยคด้วยมากกว่า ในการเล่าครั้งนี้ก็มีการใช้それでอยู่หนึ่งครั้งหนึ่งครั้ง เลยคิดว่าそしてไม่ค่อยเป็นปัญหาเท่าไหร่
          รู้สึกได้ว่ามีการใช้ちゃうมากชึ้น อย่างในครั้งนี้ก็มีการใช้ちゃう3ครั้ง ซึ่งถือว่ามากขึ้น คือพอเริ่มอินกับการเล่าเรื่องแล้วก็จะจินตนาการว่าเราเจอสถานการณ์นั้นจริงๆ แล้วมันก็จะมาเองโดยธรรมชาติว่าอันนี้มันรู้สึกแย่หรือเสียดายนะ เลยสามารถเติมちゃうเข้าไปในที่ที่ควรใช้ได้
        ต่อมาคิดว่ามีการใช้メタ言語มากขึ้น อย่างเช่น話したいことがあるんだ!เพราะแต่ก่อนไม่ได้ใช้เลย และคงเพราะยังไม่ชินกับการใช้メタ言語เลยใช้ไปครั้งเดียว บวกกับคิดว่าเรื่องมันค่อนข้างเศร้านิดนึงเพราะมีคนเสียชีวิต ไม่ใช่เรื่องตื่นเต้น เลยไม่รู้จะใช้อย่างไรก็เลยไม่ได้ใส่ไปเท่าไหร่
          สุดท้ายถ้าถามว่าเล่าเรื่องได้ดีขึ้นไหม คิดว่าดีขึ้นนะ แม้อาจจะยังไม่มีสีสันเท่าที่ควรเช่นメタ言語ยังไม่เยอะเท่าไหร่ แต่เมื่อเทียบกับเรื่องที่แล้วก็ถือว่าดีขึ้นมาก ปะติดปะต่อเรื่องได้มากขึ้น จินตนาการดีขึ้นด้วย เปลี่ยนมาแบ่งประโยคเป็นสั้นๆจากตอนแรกที่ชอบเชื่อมประโยคยาวๆ มีการคำนึงถึงผู้ฟังและมีあいづちกับผู้ฟังมากขึ้น แล้วก็สามารถเล่าแบบใส่อารมณ์ได้มากกว่าเรื่องแรก สรุปแล้วก็พอใจกับการเล่าเรื่องครั้งนี้นะ