Sunday, May 10, 2015

-THE LAST-

            THE LAST
            สรุปการเรียนวิชา App jp ling และการทำบล็อกทั้งหมดที่ผ่านมา
           
   ★   App jp ling

รู้สึกว่าเป็นวิชาที่ได้รู้อะไรใหม่ๆเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นที่เรียนมา บางเรื่องเจอมาหลายครั้งก็ไม่เคยสงสัยเลย แต่พึ่งได้มารู้ความแตกต่างหรือข้อสังเกตก็ตอนเรียน เช่น

 เวลาตั้งคำถามมักใช้ 無標ดีๆถาม เช่น ภูเขานี้สูงเท่าไหร่ ห้องนี้กว้างเท่าไหร่ how old are you
 ได้เรียนรู้วิธีแนะนำตัวหลายๆแบบ การแนะนำตัวที่ดีอย่างเช่น การใส่เรื่องราวลงไป ใส่ดราม่า ใส่ข้อดีของตัวเองลงไปให้น่าสนใจและให้ผู้ฟังจำจดจำได้ รู้สึกว่าเรามีประโยชน์สำหรับเขา ผู้ฟังฟังแล้วได้อะไร และคนฟังมักสนใจฟังเรื่องしっぱいมากกว่า เรื่องการประสบความสำเร็จ
  คนญี่ปุ่นจะตั้งใจฟังการแนะนำตัวของคนอื่นและอ้างอิงถึงเรื่องที่มีคนพูดไปก่อนนี้ ถ้าเราทำได้จะดูเหมือนใส่ใจและตั้งใจฟัง ทำให้คนญี่ปุ่นรู้สึกดี
  คนญี่ปุ่นชอบใช้นามมากกว่ากริยา ex.ストレスの時はคนไทยชอบใช้กริยามากกว่านาม ex.ストレスがたまったら
  การอธิบายให้ฟังง่าย ดู反応ของผู้ฟัง แบ่งเรื่องยากๆมาทีละนิดแล้วค่อยขยายลองจินตนาการว่าถ้าเราเป็นผู้ฟังจะเข้าใจมั้ย
 あのうพูดเมื่อกำลังเลือกคำที่จะใช้ คิดวิธีในการสื่อสารกับผู้ฟัง พูดเกริ่นก่อนเริ่มบทสนทนา ต้องมีผู้ฟังเสมอえっとพูดคนเดียวได้ เช่นพูดในใจ
 กับคนไม่สนิท หรือสถานการณ์เป็นทางการ คนญี่ปุ่นจะพูดえ。。มากกว่าえっと
♥ そして+結果
  なんか+みたい、よう、よく分からない、気がする、っていう感じ or   เรื่องที่พูดลำบาก
  ส่งเมล์ให้คนไม่รู้จักหรือพึ่งรู้จัก ไม่นิยมใช้ おはようございます、こんにちは ควรจะお忙しいところ申し訳ございません

            เรื่องที่ชอบที่สุดในการเรียนคือวิธีการเขียนเมล์หาคนญี่ปุ่น เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก อย่างตัวเราเองก็ส่งเมล์หาคนญี่ปุ่นบ่อยๆ พอได้มาเรียนก็รู้สึกดีที่จะได้เขียนให้ดีขึ้นและไม่ทำอะไรที่เป็นการเสียมารยาทต่ออีกฝ่าย

  Blog

内省
            รู้สึกว่าตัวเองมีความกระตือรือร้นขึ้นในการเรียนภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นหลังจากทำบล็อก เช่นเจออะไรน่าสนใจก็จะจดโน้ตไว้แล้วนำมาเขียน ทั้งที่เจอในชีวิตประจำวัน แล้วก็ในห้องเรียน เป็นคนรู้จักสังเกตมากขึ้น เช่นเวลาอ่านภาษาญี่ปุ่น เจอประโยคอะไรก็จะลองดูรูปประโยคว่าทำไมใช้แบบนี้ เวลาคุยกับคนญี่ปุ่นก็สังเกตมากขึ้น แล้วก็จำมาใช้ อย่างตอนสัมภาษณ์คนญี่ปุ่นในงานโปรเจควิชาconver  คนญี่ปุ่นพูดว่าなんか。。。みたいな感じก็จำได้ พอมาเรียนเรื่องนี้ในห้องอีกทีก็นึกถึงประโยคนี้เลย แต่ว่ายังไม่มีโอกาสได้พูดถึงเรื่องนี้ในบล็อก
            หลังจากได้ลองทำtaskหลายๆอย่างและได้เขียนบล็อก คิดว่าจุดที่ตัวเองถนัดคือการพูดมากกว่าการเขียน อย่างเวลาพูดเราสามารถพูดสบายๆได้ ไม่รู้คำช่วยก็ละไว้ก่อนได้ แต่การเขียนจะต้องครบถ้วนและถูกต้อง อย่างเวลาเขียนบล็อกแล้วมีประโยคตัวอย่างก็ต้องตรวจสอบก่อนว่าคำช่วยนี้ใช้กับประโยคนี้ได้รึเปล่า คำนี้ใช้อธิบายแบบนี้ได้มั้ย ทำอย่างนี้ทุกครั้ง ไม่ใช่ว่าคิดประโยคในหัวแล้วเขียนลงไปเลย (ยกเว้นว่าเป็นประโยคง่ายๆที่มั่นใจ) แต่ข้อดีก็คือช่วยให้เรารู้จักเรียนรู้ ได้ฝึกค้นหาด้วยวิธีใหม่ๆ ใช้เว็บต่างๆหรือเครื่องมือต่างๆที่อาจารย์ให้ซึ่งมีประโยชน์มากโดยเฉพาะninjal และในระหว่างทางที่ค้นหาจะเจออะไรอีกมาก เช่นถ้าหาในกู้เกิ้ล จะเจอเรื่องราวน่าสนใจบ้าง ก็เข้าไปอ่าน รูปประโยคใหม่ๆบ้าง ก็จะจำไว้ว่าแบบนี้ใช้ได้นะ รู้สึกว่าเป็นการเหนื่อยที่คุ้มค่า :D
            สุดท้ายจากการเรียนและทำบล็อก รู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่เซนซิทีฟและละเอียดมาก มีเรื่องต่างๆที่ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะในการจะพูดได้ใกล้เคียงเจ้าของภาษาที่สุด หากอย่างเก่งต้องหมั่นสังเกต หาความรู้เพิ่มเติม และฝึกฝนเยอะๆทั้ง input output  แล้วก็ต้องค่อยๆเรียนรู้ไป ไม่ควรคิดว่าตัวเองเก่งแล้วเพราะคนที่คิดว่าตัวเองเก่งแล้ว ใช้ถูกแล้วจะเปิดรับความรู้ใหม่ๆได้ยาก แล้วอะไรที่ผิดก็จะผิดอยู่อย่างนั้น (แต่คิดว่าเรากับเพื่อนๆไม่น่ามีใครคิดว่าตัวเองเก่งแล้วเพราะเราได้เรียนภาษาญี่ปุ่นในขั้นลึกไม่ใช่แค่ไวยากรณ์และทฤษฎี แล้วทุกคนน่าจะรู้สึกเหมือนกันว่าภาษาญี่ปุ่นมีอะไรให้เซอร์ไพรส์เยอะมากก แบบอ้าวอันนี้ไม่ควรใช้เหรอ อันนั้นก็ไม่ได้อันนี้ก็ไม่ได้ สรุปเรารู้อะไรบ้างเนี่ย อะไรแบบนี้555)
การบรรลุวัตถุประสงค์ของ blog
            คิดว่าบรรลุวัตถุประสงค์พอสมควร อย่าง目標ที่ตั้งไว้คืออยากเรียนรู้コロケーション
ที่น่าสนใจ 4 : 何の声これ? 
                5 : この声どういう意味? 
ที่พบในชีวิตประจำวัน 2 : สติมาปัญญาเกิด 
                                 12 : !?
                                 13 : !!!
ที่พบระหว่างเรียน  3 : 火の鳥 - 'เกิด'ใหม่  
                            7 : น่าเสียดาย 
                            8 : 「働く」VS「勤める」 
                           11 : きちんと VS ちゃんと
ที่อยากรู้เพิ่มเติม 6 :「たち」?それとも「ら」?
                         9 : สาระแน
            ก็ทำได้ครบเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ส่วนที่ทำได้ไม่ดีก็คือ ไม่สามารถอัพบล็อกได้อย่างสม่ำเสมอ และน่าจะเขียนเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของตัวเองให้มากกว่านี้ อย่างบล็อกครึ่งแรกก่อนมิดเทอมคิดว่าแก้ไม่ทันแล้วเพราะจำตอนทำไม่ค่อยได้แล้ว ก็เลยพยายามเขียนว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างในบล็อกครึ่งหลังมิดเทอมแทน แล้วก็คิดว่าถ้าเขียนประสบการณ์ของตัวเองเพิ่มไปอีกก็น่าจะดี อย่างเช่นสองบล็อกสุดท้าย เรื่อง 12 : !? กับ 13 : !!!ได้เล่าเรื่องของตัวเองที่เจอมาจริงๆก็รู้สึกสนุกดี น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ได้อ่านด้วย ถ้าเป็นไปได้ในอนาคตก็คิดว่าจะมาอัพประสบการณ์ตัวเองลงบล็อกต่อถ้ามีเวลาค่ะ
            จากการทำบล็อกนี้ทำให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่คิดว่าถึงจะไม่ต้องทำบล็อกแล้ว ก็จะพยายามรักษาความกระตือรือร้นในการเรียนภาษาญี่ปุ่นนี้ต่อไป เวลาเจอコロケーションหรือบทสนทนาที่น่าสนใจก็จะพยายามเรียนรู้และจดจำไว้ เวลาพูดคุยกับคนญี่ปุ่นก็จะพยายามสังเกตวิธีการใช้คำต่างๆไปพร้อมๆกับการเรียนรู้มารยาทของคนญี่ปุ่นด้วย เพราะในชีวิตจริงเวลาเราสื่อสารกับคนญี่ปุ่นมันไม่ใช่แค่เรื่องของไวยากรณ์ แต่มันรวมถึงมารยาทและความใส่ใจต่อผู้ฟังที่เราแสดงออกด้วย ว่าเค้าจะอยากคุยกับเราต่อมั้ย จะรู้สึกดีกับเราหรือเปล่า ยิ่งถ้าอยากเป็นล่ามหรือทำอาชีพที่ต้องติดต่อกับคนญี่ปุ่นยิ่งสำคัญ ก็เลยคิดว่าอยากจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากวิชา App jp ling  และจากการทำบล็อกนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปด้วยค่ะ 

13 : 「!!!」

          จริงๆว่าจะจบที่บล็อก!แล้ว แต่นึกเรื่องนี้ขึ้นมาได้ก็อยากเขียนอีก ถือว่าเป็นเรื่องแถมก็ได้555
          ตอนเรียนภาษาญี่ปุ่นแรกๆ แล้วเป็นเพื่อนกับคนญี่ปุ่น ได้เห็นสเตตัส ได้แชทกับคนญี่ปุ่น บวกกับดูซีรี่ย์แล้วจะเห็นพวกแมสเสจที่ส่งหากันอะไรแบบนี้ รู้สึกว่าเค้าใช้!กันเยอะมากกกก เยอะกว่าภาษาไทยมากๆ คือตอนแรกอ่านแล้วก็รู้สึกนิดนึงว่าจะตกใจอะไรมากมายเนี่ย555 คือ!มันให้ความรู้สึกแบบ ผ่าง! อะ อย่างอันนี้
「明日ディズニーランド行くんだ!すごく楽しみだな~!明日は8時から行って一日中やるんだ!!」
อ่านแล้วรู้สึกแบบ ผ่าง!...ผ่าง!...ผ่าง!ผ่าง! ตลกดี555 พอเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ไม่แปลกมาก แต่ถ้าเป็นภาษาไทย สมมติอัพสเตตัสว่า
“พรุ่งนี้จะไปเที่ยวเชียงใหม่กับที่บ้านแหละ! เห็นเค้าว่าตอนนี้สิบองศา ต้องหนาวมากแน่เลย! บรึ๋ยยย ตื่นเต้นจัง!!
เพื่อนๆในเฟสบุคคงแบบ นี่เป็นไรมากเปล่าเนี่ย เก็บกดเหรอ-*- ชัวร์ๆ5555 เพราะวัฒนธรรมที่ต่างกันนั่นเอง คือถ้าเป็นคนญี่ปุ่นเค้าจะรู้สึกว่า การใส่!เนี่ย ทำให้บทสนทนาดูมีชีวิตชีวา 生き生きมากๆ ยิ่งถ้าใช้ในการพูดคุยก็จะเหมือนว่าเรากระตือรือร้นในการคุยกับเธอนะ ไม่ใช่ตอบไปงั้นๆ อะไรแบบนี้ ตัวอย่างบทสนทนาจากเพื่อนญี่ปุ่น (ขออนุญาตแล้ว555)




แต่ในภาษาไทยปกติไม่ใส่เท่าไหร่ ยกเว้นในนิยายหรือเวลาเขียนบทสนทนาจริงๆในเครื่องหมาย “” เพราะถ้าใส่แล้วมันให้ความรู้สึกแข็งๆกระแทกๆยังไงบอกไม่ถูก ส่วนคนที่ใช้เวลาเขียนเยอะๆอาจจะดูเหมือนอ่านการ์ตูนเยอะนิดนึงหรือเปล่า หรือเป็นคนร่าเริงม๊ากมาก (อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัว555) แต่ถ้าใส่ถูกที่ก็จะอ่านแล้วตลก คือต้องเป็นคนที่มีฝีมือในการถ่ายทอดเรื่องราวนั่นเอง555

ก็เป็นความแตกต่างอีกอย่างนึงในวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นกับไทยที่เรารู้สึกด้วยตัวเอง เห็นต่างยังไงสามารถแชร์ได้น่อออ ^__^


12 : は!?

        เห็นชื่อบล็อกแล้วอย่าพึ่งตกใจ555 ไม่ได้โกรธใคร แต่วันนี้จะมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง 「は!?」ที่พึ่งนึกขึ้นได้ให้ฟัง

        ย้อนไปตอนมัธยมปลาย (ไม่น่าเชื่อว่าผ่านมาสามปีแล้วT T) ได้มีโอกาสไปทานอาหารข้างนอกกับกลุ่มเซนเซย์ที่มาเป็นอาจารย์ฝึกสอนที่โรงเรียน(ยังไม่แก่นะ เค้าอยู่ประมาณปีสองกันตอนนั้น555) ก็ไปกับเพื่อนกลุ่มนึง ระหว่างรออาหารมาก็คุยอะไรกันไปเรื่อยเปื่อย เรานั่งตรงข้ามอาจารย์ผู้ชายคนนึง ข้างๆเป็นเพื่อนสองคน

แบบนี้
l เซนเซย์  จำไม่ได้  จำไม่ได้  l
 
l     เรา     เพื่อน1   เพื่อน2    l

ตอนนั้นเราคุยกับเพื่อน1อยู่ ทีนี้เพื่อน2ก็หันมาพูดอะไรซักอย่าง แต่ไม่ได้ยินไง เลยหันไป พูด ฮะ? แต่เป็นฮะแบบหนักแน่นชัดเจนนึกออกมะ ทีนี้พอฮะเสร็จเซนเซย์ก็ขำพรวดออกมาทันนี้ ก็งงว่าขำอะไร แต่ไม่ได้ถาม555 คือเค้าขำแบบตลกจริงๆนะ ไม่ได้หัวเราะแบบแหยะๆอะไรแบบนั้น แล้วเรื่องราวนั้นก็ผ่านไป

จนประมาณปีสองตอนเรียนconver พึ่งได้มารู้ว่าในภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ถ้าฟังไม่ทันเค้าจะพูด え?へ?อะไรก็ว่าไป ไม่พูดは?คือถ้าเนี่ย มันจะให้ความรู้สึกว่าคนพูดไม่พอใจ นี่เธอพูดไม่เข้าหูอย่างแรง มีเรื่องกันมั้ย อะไรแบบนี้555 พอเรียนปุ้บบบ ภาพตอนโดนขำก็ลอยมาทันที เข้าใจเลยว่าเซนเซย์ขำทำไม (ใช้เวลาสองปีกว่าจะได้รู้555 ) แถมภาพตอนดูซีรี่ย์ญี่ปุ่นลอยมาอีก 
はー!?
เป็นตอนที่มีคนพูดไม่เข้าหูแล้วตัวร้าย(ผู้หญิงนะ)พูด หาา? อารมณ์ว่าพูดใหม่ดิ้ หรือจะมีเรื่อง คือเค้าน่าจะรู้แหละว่าเราไม่ได้ไม่พอใจ แต่มันคงดูตลกอยู่ เหมือนหาเรื่องเพื่อน นึกแล้วก็ขำดี555

        ตั้งแต่นั้นมาก็เลยพยายามหลีกเลี่ยงเวลาคุยกับคนญี่ปุ่น แต่ด้วยความที่คนไทยพูดตลอดมันก็เลยมีหลุดบ้าง เวลาจะฮะก็เลย ฮเห? ฮึ หืม (จุดจุดจุดคือรวมสติอยู่) ตลกดีเหมือนกัน555

        รู้สึกว่ามีอีกหลายสถานการณ์มากที่คนไทยพูดแล้วคนญี่ปุ่นจะงงว่าทำไมพูดแบบนี้ หรือบางทีเข้าใจผิดไปเลยก็มี อย่างที่พึ่งเรียนมาเรื่องつまりก็เหมือนกัน ที่ถ้าพูดว่า先生、明日大学に来るつもりですか。จะกลายเป็นว่าจริงๆแล้วไม่ต้องมาก็ได้ ไม่ควรจะมา แต่อาจารย์ก็ยังจะมาเหรอคะ กลายเป็นอย่างนั้นไปซะT T  รู้สึกว่าเวลาเรียนไวยากรณ์มันไม่ได้มีสอนเรื่องวัฒนธรรมอะไรแบบนี้เลย คือเราไม่มีทางรู้เลยว่ามันเสียมารยาทหรือจริงๆแล้วมันใช้ไม่ได้ เพราะเรียนมาแบบนี้ไวยากรณ์ก็ถูกเราก็ใช้ตามนั้น แต่กลายเป็นเสียมารยาทซะอย่างนั้น เลยรู้สึกว่าเรื่องมารยาทและวัฒนธรรมในการคุยกับคนญี่ปุ่นยังเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้อีกมากกก ถามอาจารย์บ้าง ดูซีรี่ย์บ้าง ฝึกคุยกับคนญี่ปุ่นบ้าง คงต้องค่อยๆเรียนรู้ไปเนอะ Because Knowledge Is Endless To Learn! :D


        วันนี้ก็มาแชร์ประสบการณ์ตรงของตัวเอง ใครอ่านแล้วก็อย่าไปใช้ผิดซะล่ะ 555


11 : きちんと VS ちゃんと

                มีใครเคยสงสัยกันบ้างมั้ยว่าきちんとกับちゃんとแตกต่างกันยังไง เราคนนึงเคยสงสัยเพราะตอนเรียนconverรู้สึกว่าต้องพูดๆเขียนๆสองคำนี้บ่อยมาก (พูดちゃんとผิดเป็นちょっとอีกต่างหาก ดีแก้ทันT-T) อย่าง長所ของเราคือ几帳面เวลาจะอธิบายว่ามันเป็นยังไงก็จะพูดประมาณว่า 何をするにも細かいところまできちんとしなければならない。物事を始める前にはいつも必要なものをちゃんと準備する。อะไรประมาณนี้ ทีนี้พูดๆเขียนๆไปมาก็เริ่มงงว่าแล้ว きちんとกับちゃんとมันไม่ได้เหมือนกันเหรอ ต่างกันแค่きちんとเป็นภาษาเขียน ちゃんとเป็นภาษาพูดรึเปล่า ก็เลยลองไปหาข้อมูลมาจากหลายๆเว็บแล้วก็ถามเพื่อนคนญี่ปุ่นดู สรุปได้ว่า

          きちんと
          จะเน้นไปทางกระบวนการการลงมือ เช่น ให้ลำดับถูกต้อง อย่าให้มีอะไรพลาดตกหล่น ให้เป็นระเบียบ ให้พอดีไม่มีส่วนขาดเกิน

ちゃんと
         จะค่อนข้างเน้นไปทางผลลัพธ์มากกว่านิดหน่อย เช่น ให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาด ให้ผลลัพธ์ออกมาดี ให้สมบูรณ์แบบ ทำอย่างแข็งขัน รวดเร็ว

วิธีการใช้

1) きちんとเป็นภาษาเขียน ちゃんとเป็นภาษาพูด
2 ทั้งคู่มีความหมายใกล้เคียงกัน ใช้ได้ใกล้เคียงกัน แต่ きちんとจะให้ความรู้สึกเป็นระเบียบ ไม่มีข้อผิดพลาดมากกว่า
3) ทั้งคู่สามารถใช้กับความหมายว่า “ให้ของอยู่เป็นที่อย่างเป็นระเบียบ” อย่างเช่น 「箱にきちんと(ちゃんと)納まる」หรือ “ให้ถูกต้องโดยไม่มีข้อผิดพลาด” เช่น 「時間をきちんと(ちゃんと)守る」ได้

แต่บางบริบทความหมายอาจต่างไปจากนี้ ยกตัวอย่างเช่น

★「朝食をきちんと食べよう」จะให้ความรู้สึกว่า ให้กินทุกเช้า กินอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นนิสัย
ちゃんと食べよう」จะให้ความรู้สึกว่า ให้กินอย่างสม่ำเสมอ ไม่ลืม กินให้หมด กินให้ครบห้าหมู่

         ★「きちんとした人」จะหมายถึง คนที่มีมารยาทดี ขยันขันแข็งและฉลาด
ちゃんとした人」จะหมายถึง คนที่เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับในสังคม

จากการค้นหาก็เลยรู้ว่าจริงๆแล้วก็อย่างที่เข้าใจแหละว่ามันคล้ายๆกัน ใช้แทนกันได้อยู่ แต่พอได้รู้ความแตกต่างแบบชัดๆแล้วก็หายข้องใจ สรุปว่าจะเลือกใช้คำไหนก็ต้องดูความหมายโดยรอบด้วย ไม่ได้แทนกันได้ทุกอัน ส่วนเรื่อง長所ของเรา ถ้าจะพูดหรือเขียนแบบไม่เป็นทางการมากก็จะเลือกใช้ちゃんと ส่วนถ้าจะเอาไปพูดตอนสัมภาษณ์งานก็ใช้きちんとน่าจะดีกว่าเนอะ ^__^