Sunday, March 22, 2015

[TASK 2] I can change! : By Myself VS. I see


赤ちゃん


★ By Myself

(เนื่องอาจารย์ให้เลือกได้ เลยขอไม่เอาลงดีกว่านะคะ มันแย่มาก 笑)

内省
  ตอนเล่าเรื่อง赤ちゃんรอบแรก ถ้าเปรียบเทียบกับครั้งที่สองและสามแล้วแตกต่างกันแบบแทบจะไม่มีเค้าโครงให้เห็นเลย คือรอบแรกดูภาพไม่รู้เรื่องเลย ไม่เข้าใจว่ามันจะสื่ออะไร เป็นเรื่องแบบไหน ต้องเล่ายังไง ส่วนที่อยากจะพูดแต่พูดไม่ได้ก็จะเป็นตรง ตาประสานกัน จ้องตากัน คลาน เข้าใกล้ วน หมุน กลับหลัง และไม่รู้จะอธิบายทิศทางยังไง ก็เลยเล่าแบบเท่าที่เห็นไปเลย ไม่มีการเสริมเติมแต่งเองใดๆ สำหรับผู้ฟังที่ฟังเรื่องอย่างเดียวแบบไม่ได้เห็นภาพ คิดว่าฟังแล้วคงไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ค่ะ


★ I see

 ある日、まだ一歳の赤ちゃんが近くに寝ているかわいい犬を見て、「あー、犬に乗ってみたい!楽しそう~」と思っていて、静かに犬の前にハイハイして近づたいた。「乗っていいかな?」赤ちゃんは思っている時に、急に犬が目を覚まして、犬と目が合ってしまった。「やばい!どうしようう」赤ちゃんはびっくりしちゃった。「うんん、でもやっぱ犬に乗りたいなあ。。じゃ、お尻のほうから乗ろう!今度こそだ!ヒヒヒ」赤ちゃんはそう思って、一度犬のお尻のほうにハイハイして近づくことにした。「乗ろう、乗ろう、乗ろう!」赤ちゃんは思って、しっかりハイハイしていた。やっと赤ちゃんはハイハイし終わった。「さ!よし!」赤ちゃんは思ったら、「えっー!なんで、なんで!?」犬の顔がまた赤ちゃんの目の前に。赤ちゃんはちょう驚いた。「なんだろう。。せっかくお尻のほうから来たのに。。でも乗りたいなあー。。」赤ちゃんはちょっと悲しく思った。実は、犬が先ほどとは反対の方向を向いていたが、赤ちゃんは分からなかったからなんだ。だけど赤ちゃんの努力はいいものだろう。きっといつかこの犬に乗れるのだ。

内省
  ก่อนหน้านี้เล่าแบบไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ เพราะไม่มีพลังในการจินตนาการมากพอ ปะติดปะต่อเรื่องไม่ค่อยได้ว่ามันอะไรยังไง ก็เลยเล่าแบบเป็นช่องๆไป ว่าตอนแรกก็เป็นแบบนี้นะ พอต่อมาก็เป็นแบบนี้ แล้วช่องสุดท้ายก็เป็นแบบนี้นะ แต่พอมาอ่านของคนญี่ปุ่น 11 คนแล้วเป็นอีกแบบนึงเลย ที่เพิ่งได้เรียนรู้คือเราสามารถเล่าในฐานะว่าเราเป็นตัวละครนั้นๆได้ สามารถเติมแต่งความคิดของตัวละครลงไปได้ว่าตัวนี้คิดยังไง สามารถเสริมเนื้อหาลงไปได้เพื่อให้เรื่องมีความน่าสนใจมากขึ้นแถมยังทำให้เนื้อเรื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นด้วย อ่านคนที่คนญี่ปุ่นเล่าแล้วเห็นได้ว่าเค้าเล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติ ดูลื่นไหล แล้วก็เห็นว่าเค้ามีพลังในการจินตนาการสูงมาก สามารถเล่าได้อย่างสนุกสนาน ราบรื่น มีการสอดแทรกอารมณ์ของตัวละครคือ赤ちゃんลงไปด้วย ตอนแรกนึกวิธีการแบบนี้ไม่ออกเลย และได้สังเกตว่าอะไรที่เค้าไม่ได้บรรยายเอาไว้อย่างชัดเจนในรูปเราก็สามารถเติมแต่งลงไปเองได้ เช่นความคิดหรือความรู้สึกของ赤ちゃんหรือ犬เป็นต้น แล้วก็ได้สังเกตว่ามีการเล่าสองแบบคือการเล่าโดยภาพรวม คือมองจากบุคคลที่สาม หรืออาจจะเล่าแทนตัวเองเป็น赤ちゃんก็ได้ ซึ่งตอนแรกที่เล่าก็เล่าแบบผสมๆสองอย่างนี้ไป แต่ที่ขาดชัดเจนเลยคือพลังในการจินตนาการจริงๆค่ะ 笑 โดยภาพรวมแล้วในครั้งนี้ถือว่าเล่าได้รู้เรื่องกว่าครั้งแรกมาก ถึงผู้ฟังไม่เห็นภาพแต่ก็น่าจะจินตนาการจากที่ฟังได้ พอเริ่มจับวิธีการเล่าเรื่องต่างๆได้แล้วคาดว่าต่อไปคงเล่าเรื่องได้สนุกสนานและรู้เรื่องมากขึ้นค่ะ









Saturday, March 14, 2015

6 :「たち」?それとも「ら」?


เรื่องมันเริ่มมากจากที่ตอบคอมเม้นเพื่อนในบลอคที่แล้ว


ด้วยความเคยชินมือจึงพิมพ์ไปทันทีว่า「彼たち」เกือบจะกดreplyแล้ว แต่มาอ่านอีกที เอ๊ะมันแปลกๆ ใช้ถูกรึเปล่านะ? -"- เลยไปหามาว่ามันต่อกับたちได้รึเปล่า ผลปรากฏออกมาว่า

-         ปกติแล้วเค้าไม่ใช้「彼たち」กัน แต่จะใช้「彼ら」กันมากกว่า
-         ส่วนถ้าเป็นผู้หญิง「彼女たち」ใช้มากกว่า「彼女ら」ไม่ค่อยใช้

อ่าว ปวดเศียรเข้าไปใหญ่ ทำไมมันต้องสลับกัน T__T เลยไปเสิร์ชหาเพิ่ม เค้าบอกว่า

「彼女たち」=  10600000
「彼女ら」 =  654000
「彼ら」  =  18500000
「彼たち」=    25800
Google検索(2009520日)

จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็น จะใช้  「彼ら」 มากกว่า 「彼たち」 
ถ้าเป็น 彼女จะใช้  「彼女たち」 มากกว่า 「彼女ら」 

จึงไปหาเหตุผลว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ได้ข้อสันนิษฐานมาประมาณนี้

- 彼女らเป็นวิธีพูดแบบค่อนข้างเป็นทางการหรือสุภาพนิดหนึ่งในภาษาคันไซ
- 彼たちจะใช้กันในหมู่ผู้หญิงหรือニューハーフ
- らเป็นวิธีการพูดที่ให้ความรู้สึกว่ากดเค้านิดหน่อย(คนที่เราพูดถึง) และถ้าเรียงจากสุภาพมากไปหาน้อยก็จะเป็น
かた/がた
たち

ども
                **แต่ว่าในสมัยนี้การใช้ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกว่ากดเค้าขนาดนั้นแล้ว
       
                ยังไม่จบ แต่พอทำการสำรวจหลังจากนั้นอีก7เดือนต่อมา

「彼女たち」=  1120000件(10600000件)
「彼女ら」 = 2800000件( 654000件)
「彼ら」  =  9010000件(18500000件)
「彼たち」=    2 9200件(  25800件)

Google検索(2009123日)

เห็นได้ว่า 彼女たちกับ彼らลดลงไปฮวบเลย
彼女たちนี่เพิ่มขึ้นมาหน่อย
ส่วน彼らนี่เพิ่มขึ้นเกือบห้าเท่าตัว

แต่อย่างไรก็ตาม นั่นมันก็ตั้ง6ปีมาแล้ว มาดูการใช้จริงในปัจจุบัน(2014)กันดีกว่า จากเว็บlang-8เค้าบอกว่า

ข้อสันนิษฐาน1
たち  ไม่ค่อยใช้
彼女たち ใช้นิดหน่อย

ら   ใช้บ่อย
彼女ら  ใช้บ่อย
และความหมายทั้งหมดเหมือนกัน

ข้อสันนิษฐาน2
ら、たち、彼女たち มักใช้ในภาษาพูด
ら、彼女 มักใช้ในภาษาเขียน

ข้อสันนิษฐาน3
แล้วแต่บริบทว่าจะใช้กับใครที่ไหน อย่างเช่น
たち・彼女たち」 เค้าจะใช้ในที่ทำงาน
ら」「彼女ら」 จะใช้นอกเหนือจากในที่ทำงาน
และถ้าใช้กับผู้ที่อยู่สูงกว่ามักจะใช้ たち


สรุปได้ว่า (นี่เป็นข้อสันนิษฐานของตัวเองล้วนๆ)
1)   อาจเป็นเพราะจบท้ายด้วยเสียง ”ร” เลยต่อด้วยง่ายกว่า ส่วน彼女ต่อท้ายเสียงたちง่ายกว่า (ลองออกดูแล้วมันง่ายกว่าจริงๆ 彼女らแอบลิ้นพันกันนิดนึง)
2)   ตามลำดับความสุภาพแล้วたちสุภาพกว่าら จึงมีการใช้กับผู้หญิงมากกว่าเหมือนเป็นการให้เกียรติ และผู้ชายไม่ซีเรียสมากเลยใช้กับมากกว่า
- ทั้งนี้ทั้งนั้นวิธีการใช้ที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือ 彼女たち กับ 彼ら นั่นเอง
(ขอย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นข้อสันนิษฐานส่วนตัวล้วนๆ 555) *หากใครเข้าใจแบบแจ่มแจ้งกรุณาแจงแจกให้ฟังได้ไหมมมคะT_T
       
อย่างไรก็ตาม ภาษาก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในอนาคตความสุภาพของたちกับอาจขึ้นมาเสมอกันไปเลยก็ได้ หรือพอถึงยุคที่ผู้หญิงกับผู้ชายเสมอภาคกันมากๆในทุกกรณี ก็อาจมีการใช้彼女らมากขึ้นก็เป็นได้ ผู้เรียนภาษาบ้านเค้าอย่างเราๆก็ต้องติดตามวิวัฒนาการทางภาษาอันน่างุนงงนี้ต่อไป นะก๊ะ










Sunday, March 8, 2015

5 : この声どういう意味?

        
       ต่อจากบล็อกคราวที่แล้ว บล็อกนี้ก็ยังเป็นเรื่องเสียงอยู่นะ แต่มาเป็นสำนวนค่ะ แบบว่าเก๋ๆ )” เสียงบางเสียงอาจจะไม่ได้หมายถึงเสียงตรงๆก็ได้  แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอยู่นะ ลองดูกันเลย


★声が掛かる(こえがかかる)

ความหมายที่1 ได้รับการแนะนำจากผู้ใหญ่(ถูกแนะนำ) ,ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ

社長から声が掛かってそのプロジェクトチームに入った


ความหมายที่2 ได้รับเชิญ มีคนเชื้อเชิญ (เข้าที่ประชุมหรือไปงานเลี้ยง)

料亭から声が掛かり宴席に赴きます。


ความหมายที่3 ส่งเสียงเชียร์จากที่นั่งของผู้ชมไปยังนักแสดงบนเวทีในคอนเสิร์ต/งานแสดง

多くのファンから「ありがとう」と声が掛かて山ピー君が微笑んだ。




★声を荒らげる (こえをあららげる)

ขึ้นเสียง (raise one’s voice)

―彼女は怒って声を荒らげた

―ジムがまた遅刻したので部長は声を荒らげて叱った



★声援を送る(せいえんをおくる)

ส่งเสียงเชียร์ ให้กำลังใจ (cheer,cheering)

―彼女は声援を送るファンに感謝の気持ちを述べた。

―震災で打ちひしがれた日本に韓国の人々は声援を送ってくれた

―昨日の試合、誰よりも大きな声で声援を送ってありがとうね!




罵声を浴びせる(ばせいをあびせる)

โห่ ตวาด ต่อว่าด้วยเสียงดัง (abuse/boos/jeers)

―彼は聴衆に罵声を浴びせられても演説を続けた。

                               แบบนี้สินะคะ 


―シュートを外すとファンは彼に罵声を浴びせた

                                รอแป้บนะน้อง เดี๋ยวพี่จัดให้




★声を詰まらせる 

เสียงสั่น เปล่งเสียงออกมาไม่ค่อยได้เพราะดีใจ เสียใจ ตื่นเต้น ตกใจ (in a choked voice)

涙で、また緊張驚きなど声を出そうとしてもうまく出せない状態

涙がぐっとこみ上げ声を詰まらせる

                                                          (นาทีที่ 8.57)



★声が届く

เสียงส่งไปถึง (to reach)

―これは私たちに届いたお客様のおです。

君に僕の声が 届きますように

                   มีเพลงด้วยนะ DEEP / SORA~この声が届くまで~


この声が届くまで歌い続けるよいつでも どんな時も 君を想ってる 



★声を殺す

ลดเสียงให้เบา เพื่อให้คนรอบข้างไม่ได้ยิน (สังเกตว่าส่วนมากใช้กับ 泣く) (to muffle one’s voice)


布団の中で声を殺し泣いた

―「今月才になった娘がいるんですが一年ほど前から叱って泣くとき声を殺して泣くようになりました。声を殺すようになったのは私が原因で当時色んなことが重なり、娘が何かをやらかし叱る度にギャーギャー泣いてたら「うるさい!泣くな!」と言ってしまってました。。。押し殺す姿を見てると私まで泣きたくなりそうになるし本当に酷い事してしまったんだなと反省しております。

อ่านแล้วเศร้าT_T หากสนใจติดตามต่อได้ที่ http://mamastar.jp/bbs/comment.do?topicId=2117084



★声にならない

ไม่มีเสียง / บรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ด้วยความรู้สึกที่อัดแน่นอยู่ในใจ

―頭がすごく痛くて、言おうとしたが、口がぱくぱく空気を嚙むだけで声にならなかった。

声にならないほどに愛しい

会いたくて声にならない

พอเสิร์ชแล้วมีเพลงชื่อประมาณนี้เยอะอยู่


声にならないほどに愛しい-Manish

声にならなくて -Yuya Matsushita

「声にならない夜」-Rain


แปลว่าเพลงญี่ปุ่นเค้าก็อินกับคำนี้อยู่เหมือนกันนะ  


วันนี้ก็ได้เรียนรู้คำศัพท์ที่มีเกี่ยวข้องอยู่หลายคำ และได้ความรู้เพิ่มเติมระหว่างการหาความหมายด้วย ทั้งเพลง ทั้งคลิป และบทความ ครบจุดประสงค์และได้ของแถม เดี๋ยวจะลองเอาไปใช้ดู จะพูดหรือจะเขียนคงมีสักทาง (´`) แล้วจะมารีวิวค่ะถ้ามีวันนั้น へへ


最近勉強がすごく忙しいですね。ちょっと声援を送ってくれませんか~